หัวเรื่อง ของ โอฟีเลีย (มิเล)

ภาพเขียนเป็นภาพของตัวละครโอฟีเลียร้องเพลงขณะที่ลอยละล่องมาตามสายน้ำก่อนที่จะจมน้ำตายในที่สุด ภาพนี้เขียนจากคำบรรยายภาพพจน์ในองค์ที่ 4 ฉากที่ 7 ของบทละครของพระราชินีเกอทรูด:

There is a willow grows aslant a brook,That shows his hoar leaves in the glassy stream;There with fantastic garlands did she come,Of crow-flowers, nettles, daisies, and long purples,That liberal shepherds give a grosser name,But our cold maids do dead men's fingers call them:There, on the pendent boughs her coronet weedsClambering to hang, an envious sliver broke,When down her weedy trophies and herselfFell in the weeping brook. Her clothes spread wide,And, mermaid-like, awhile they bore her up;Which time she chanted snatches of old tunes,As one incapable of her own distress,Or like a creature native and indu'dUnto that element; but long it could not beTill that her garments, heavy with their drink,Pull'd the poor wretch from her melodious layTo muddy death.[1]

ท่านอนของโอฟีเลีย—หงายแขนและมือที่กางออกไปเล็กน้อยและมองลอยขึ้นไป—เป็นท่าเดียวกับภาพพจน์ของธรรมเนียมการเขียนภาพนักบุญหรือผู้พลีชีพเพื่อศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ตีความหมายได้ว่าเป็นภาพที่ทำให้ผู้ชมตื่นอารมณ์

ภาพเขียนมีชื่อในด้านการวาดรายละเอียดของพืชพันธุ์ริมแม่น้ำและบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำที่เน้นวัฏจักรของการหมุนเวียนของชีวิตที่เริ่มด้วยการเจริญเติบโตไปจนถึงการเสื่อมโทรม แม้ว่าภาพตั้งใจจะให้เป็นเดนมาร์กแต่ภูมิทัศน์ของภาพกลายมาเป็นภาพพจน์ของภูมิทัศน์แบบอังกฤษ ภาพ “โอฟีเลีย” เขียนริมฝั่งแม่น้ำฮอกสมิลล์ในเซอร์รีย์ไม่ไกลจากโทลเวิร์ธในบริเวณนครลอนดอนและปริมณฑล บาร์บารา เวบบ์ผู้พำนักอยู่ที่โอลด์มาลเด็นไม่ไกลจากที่เขียนภาพเท่าใดนัก พยายามเสาะหาจุดที่มิเลใช้ในการวาดภาพและจากการค้นคว้าเชื่อว่าจุดที่วาดอยู่ที่ซิกซ์เอเคอร์เม็ดโดว์ริมถนนเชิร์ชในโอลด์มาลเด็น[2] ที่ไม่ไกลจากที่ที่วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์เพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมของมิเลขณะนั้นกำลังทำงานเขียนภาพ “คนรับจ้างเลี้ยงแกะ” (The Hireling Shepherd)[3]

รายละเอียดของภาพที่กล่าวกันว่าเป็นภาพหัวกะโหลก

ดอกไม้ที่ลอยในน้ำเลือกจากดอกไม้ในคำบรรยายมาลัยของโอฟิเลียในบทละคร แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นภาษาดอกไม้ที่แสดงความหมายที่ใช้กันในสมัยวิคตอเรีย เช่นดอกฝิ่นที่เด่นแดงในภาพ—มิได้กล่าวถึงในคำบรรยายในบทละคร—เป็นสัญลักษณ์ของการนอนหลับและความตาย[4]

สิ่งหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในภาพคือภาพหัวกะโหลกในพงไม้ทางฝั่งแม่น้ำทางด้านขวา แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรที่บ่งว่ามิเลตั้งใจจะเขียนหัวกะโหลกในภาพ[5] แต่ลักษณะหัวกะโหลกที่เกิดจากการสร้างของธรรมชาติใช้โดยฮันท์ในภาพ “คนรับจ้างเลี้ยงแกะ” เมื่อคนเลี้ยงแกะที่มีตัวม็อธ (Death's-head Hawkmoth) ที่ตายแล้วอยู่ในอุ้งมือ

ในการเขียนขั้นแรกมิเลเขียนภาพตัวหนูน้ำ (Water Vole)—ที่ผู้ช่วยไปจับมาจากแม่น้ำฮอกสมิลล์—มาให้พุ้ยน้ำข้าง ๆ โอฟีเลีย ในเดือนธ้นวาคม ค.ศ. 1851 มิเลแสดงภาพเขียนที่ยังไม่เสร็จให้ญาติของฮันท์ดู และบันทึกในบันทึกประจำวันว่า “ลุงและป้าของฮันท์มา, ทั้งสองคนเข้าใจทุกอย่างในภาพเป็นอย่างดี ยกเว้นตัวหนูน้ำ ฝ่ายชายเมื่อให้ทายว่าเป็นตัวอะไร ก็รีบประกาศว่าเป็นกระต่าย แต่จากสีหน้าก็ทราบว่าเป็นคำตอบที่ไม่ถูก จากนั้นก็คิดว่าอาจจะได้ยินคำทายว่าเป็นหมาหรือแมว” มิเลจึงลบตัวหนูน้ำออกจากภาพแต่ภาพร่างตัวหนูน้ำยังคงอยู่ทางมุมบนของผ้าใบที่ซ่อนอยู่ในกรอบ[3]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอฟีเลีย (มิเล) http://amandawhewell.blogspot.com/2008/06/what-mak... http://www.lizziesiddal.com http://www.m-w.com/dictionary/hurdle http://smarthistory.org/blog/89/two-paintings-by-t... http://en.wikipedia.org/wiki/File:Acherontia_lache... http://en.wikipedia.org/wiki/File:Water.vole.arp.j... http://www.cazbo.co.uk/MillaisOphelia700.shtml http://www.cazbo.co.uk/ThePainting/Aboutthepaintin... http://www.telegraph.co.uk/arts/main.jhtml?xml=/ar... http://www.ewell-probus.org.uk/archive/Millias%20a...